นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริเทนส์ วอร์วิค และสถาบันวิจัยมะเร็ง (ICR) สหราชอาณาจักร (UK) พบว่า
ผู้ชายที่มีนิ้วชี้ (index finger) ยาว มีความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง 1/3 (ตีพิมพ์ใน Br J Cancer)
ผู้ชายส่วนใหญ่จะมีนิ้วนางหรือนิ้วที่ 4 (นับนิ้วหัวแม่มือเป็นนิ้วที่ 1 ไปเรื่อยๆ) ยาวมากกว่านิ้วชี้หรือนิ้วที่ 2,
กลไกที่เป็นไปได้ คือ ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) มักจะทำให้นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
ถ้าระดับฮอร์โมนเพศชายตอนอยู่ในท้องแม่ไม่สูงมาก... ความยาวนิ้วจะตรงกันข้าม คือ นิ้วนางจะสั้นกว่านิ้วชี้
ทุกวันนี้การตรวจคัดกรองหามะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer) ยังมีความ "ไม่แน่นอน / ไม่ชัดเจน" หรือความ "ก้ำกึ่ง / กำกวม" (controversy) สูงมาก
.
การตรวจเลือดหาระดับสาร PSA (prostate-specific antigen) ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า
ระดับสารนี้ที่สูงขึ้นเป็นผลจากมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดที่ก้าวร้าว หรือลุกลามออกไปรอบๆ (aggressive)
หรือเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดที่อ่อนมากๆ
มะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดที่อ่อนมากๆ ไม่มีอาการ และไม่ต้องรักษา
.
การผ่าศพชันสูตรพบมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดอ่อนมากๆ ไม่มีอาการอะไรจนกระทั่งคนที่เป็นเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่น
เช่น อุบัติเหตุ โรคหัวใจ ฯลฯ ได้บ่อยมาก
ส่วนกลไกที่ทำให้ความยาวนิ้วชี้มีความสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นน่าจะเป็นผลมากจากการมีรหัสพันธุกรรม, DNA,
หรือยีนส์ (genes = กลุ่มหรือชุด DNA ที่แสดงผลได้) ร่วมกัน
.
รหัสพันธุกรรม, ชุด DNA หรือยีนส์ที่ควบคุมการเจริญเติบโต-พัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์ (sex organs)
และความยาวนิ้วมือได้แก่ HOXA & HOXD
.
การศึกษาก่อนหน้านี้หลายรายงานพบว่า ความยาวของนิ้วมือ (เน้นว่า นิ้วนางยาวกว่า หรือสั้นกว่านิ้วชี้), ภาวะเจริญพันธุ์
หรือความสามารถในการมีลูก, ความสามารถทางการกีฬา, ความเชื่อมั่น, และความเร็วของปฏิกริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้ามีความสัมพันธ์กัน
.
ถ้านิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้... ไฟธาตุ(ผู้ชาย)มักจะแรง ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่, ความก้าวร้าว-เชื่อมั่นมีแนวโน้มจะสูง, กล้าได้-กล้าเสีย,
เล่นกีฬา-เล่นเกมส์มักจะเก่ง
.
ถ้านิ้วนางสั้นกว่านิ้วชี้... ไฟธาตุ(ผู้ชาย)มักจะอ่อนลงเล็กน้อย ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่, ลักษณะความก้าวร้าวจะลดลงเล็กน้อย ลักษณะอื่นๆ มักจะดี
.
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้ชายสหรัฐฯ รองจากมะเร็งปอด, ส่วนใหญ่จะพบในคนสูงอายุ (50 ปีขึ้นไป),
คนเอเชียหรือซีกโลกตะวันออกเป็นมะเร็งชนิดนี้น้อยกว่าฝรั่ง(ชาวตะวันตก)
การศึกษานี้ทำในกลุ่มตัวอย่างคนไข้โรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่า 1,500 ราย เทียบกับคนที่ไม่เป็นมะเร็ง และมีสุขภาพดี 3,000 คน
.
ผู้ชายมากกว่าครึ่ง (จากการศึกษานี้) มีนิ้วนางยาวมากกว่านิ้วชี้ ลักษณะเช่นนี้พบบ่อยที่สุด (ต้นฉบับไม่ได้บอกว่า เสี่ยงเพิ่มขึ้น)
ผู้ชายที่นิ้วชี้ยาวเท่ากับนิ้วนางมีประมาณ 19% ลักษณะเช่นนี้มีความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากไม่เพิ่มขึ้น และไม่ลดลง
.
ผู้ชายที่มีนิ้วชี้ยาวมากกว่านิ้วนางมีประมาณ 1/3 หรือ 33% มีความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง
คนที่มีความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นได้แก่ คนที่มีประวัติครอบครัว (พ่อ-พี่น้องชาย-ลูกชาย) เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก,
คนที่มีเชื้อสายอาฟริกา (อาฟริกัน-อเมริกัน) เสี่ยงมากกว่าคนตะวันตก (ฝรั่ง), และคนตะวันตก (ฝรั่ง) มีแนวโน้มจะเสี่ยงมากกว่าคนเอเชีย
.