กล่าวไว้ว่า รอบเขาพระสุเมรุทั้ง 4 ทิศ มีเทวดาชั้นจตุมหาราชิก ประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ หรือที่รู้จักกันดีในนามของจตุโลกบาลองค์ที่เป็นใหญ่ในทิศเหนือ มีนามว่า ท้าวเวสสุวรรณ หรือเจ้าแห่งยักษ์
http://www.myuppic.com/show.php?id=812fb136dee95baff2910f11e0aaa211]]เทียบ ชั้นยักษ์ตนนี้เป็นพระโพธิสัตว์ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานประจำตำแหน่งธรรมบาล ที่ได้รับความนับถือกันมาก ก่อนจะมาแพร่หลายในยุค 8 นั้น ร้านขายเทวรูปย่านพาหุรัดมีให้เช่ามานานแล้ว ส่วนใหญ่เป็นศิลปะทิเบต เนปาล ไม่ได้เรียกขานว่า ชัมภลและพระธนบดี แต่รู้จักในฐานะ "ท้าวกุเวร" เจ้าแห่งยักษ์ผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สิน
ฐานะในวันนี้คือ เจ้าแห่งทรัพย์ ผู้ประทานโชคลาภ ทรัพย์สิน และความมั่งคง
เป็นเทพ รุ่นเก่าในยุคพราหมณ์ และพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน พระนามเดิมนั่นคือ ท้าวกุเวร เป็นเทพประจำโลกบาลทางทิศเหนือ มีฉายาเดิมว่า "เจ้าแห่งทรัพย์" ตำนานว่าเป็นเจ้าแห่งยักษ์ทั้งปวง อีกชื่อที่คนไทยรู้จักกันดีคือ ท้าวเวสสุวรรณ รามเกียรติ์เรียก ท้าวกุเรปัน ในฝ่ายพุทธมหายาน มีการกล่าวถึงจตุโลกบาล เช่นกัน และตรงกันว่า มหาราชผู้เป็นใหญ่ในทิศเหนือ คือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพผู้รักษาพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากทางเข้าวัดจีน จะมีจตุโลกบาล 4 องค์ ยืนเฝ้าอยู่ ศาสนาพุทธมหายานครอบคลุมถึงทิเบต เนปาล และประเทศจีนปัจจุบัน รวมทั้งอดีตพันกว่าปีของคาบสมุทรทะเลใต้ คือ อินโดนีเซีย ไทย เขมร ที่ศาสนาพุทธมหายานเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุด ที่กล่าวโดยสรุปย่อๆ ให้เห็นภาพชัดเจนว่าท่านคือใคร แล้วท้าวชุมภลหรือเศรษฐีชัมภลมาจากไหน ในคาถาบูชาเทพเจ้าแห่งโชคลาภของพุทธตันตระ ฝ่ายมหายาน มีดังนี้ "โอม ชัมภาลา จนเลน ไนเยน สวาหะ" "ชัมภาลา" ก็คือ ชัมภล นั่นเอง และในภาษาอังกฤษที่เรียกรูปเคารพของท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ ก็เขียนทับศัพท์ว่า "JAMBHALA" ตามรูปสมมุติที่สร้างขึ้นเท่าที่ปรากฎตามที่ได้ค้นคว้าจากตำราทั้งภาษาไทย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรากฎตรงกันว่า ท่านถือพังพอนอยู่ในมือด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งถือลูกแก้ว หรือฉัตรก็มี หน้าตาบางปางท่านจะดุดันเข้มขลัง เพราะท่านคือเจ้าแห่งยักษ์ เมืองจีนยุคหลัง ๆ เรียกท่านว่า "ไฉ่ซิ้งเอี้ย" ตามสำเนียง และภาษาที่เป็นไปของแต่ละพื้นที่ พร้อมกับมีนิทานเรื่องขุนนางจีนมาประกอบ แต่ยังปรากฎรากศัพท์ของเสียง "ฉ" หรือ "ช" ที่ภาษาจีนทางใต้ออกเสียง "ใช้" หมายถึง ความร่ำรวย ซึ่งใกล้เคียงของเดิม คือ "ชัมภล" "ชัมภาลา"
.....ในหนังสือเท วกำเนิดของพระยาสัจจาภิรมย์ (สรวง ศรีเพ็ญ) พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2474 ได้กล่าวถึงเรื่องจตุโลกบาลและเรื่องราวของท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า เป็นใหญ่ในทิศเหนือ มีด้วยกันหลายนาม เช่น ท้าวกุเวรธนบดี (เป็นใหญ่ในทรัพย์) ธเนศวร (เจ้าแห่งทรัพย์) อิจฉาวสุ (มั่งมีได้ตามใจ) ยักษ์ราช (ราชาแห่งยักษ์) กุตนุ (มีรูปร่างน่าเกลียด หมายถึง ยักษ์ที่มีหน้าตาดุ นั่นเอง) รัตนครรภ (มีเพชรเต็มพุง) ราชราช (ราชะราชเจ้าแห่งราชา) นรราช (เจ้าคน) รากชเสนทร์ (เป็นใหญ่ในรากษส) ฯลฯ...
....จะเห็นได้ว่า จะเรียกอย่างไรก็ตาม ท่านก็คือสัญลักษณ์แห่งความร่ำรวย ผู้เป็นมหาราชประจำทิศเหนือ และในอาฏานาฏิยะปริตรมหาสมัยสูตร หรือ บทสวดภาณยักษ์ ก็กล่าวว่า ท้าวกุเวร เป็นจอมยักษ์ และเป็นผู้ดูแลรักษาโลกในทิศเหนือ...
ชื่อเรียกอย่าง เป็นทางการในประเทศไทย มีอยู่ 2 พระนาม คือ "มหาเศรษฐีชัมภล" (จัดสร้างโดยพุทธสถาน จีเต็กลิ้ม) และ "พระธนบดีศรีธรรมราช" (รุ่นชนะมาร จัดสร้างโดย มูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) มหาเศรษฐีชัมภลและพระธนบดี แม้จะเรียกนามต่างกัน แต่เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเมื่อครั้งโบราณนั้น ตั้งแต่เมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ไล่ลงไปจดเกาะชวานั้น เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย ที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนามหายาน (แบบอินเดีย) มาก่อน ดังนั้น ลัทธิบูชาและรูปเคารพมักปรากฎพระโพธิสัตว์หลายพระองค์เป็นหลักฐาน อาทิ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระชัมภลโพธิสัตว์
พระธนบดี ศิลปะศรีวิชัย มีอายุราว 1,200 ปี ที่พิพิธภันฑ์กีเมต์ ประเทศฝรั่งเศส งดงามมาก และเป็นต้นแบบของการจัดสร้างพระธนบดีรุ่น "ปราบมาร" ส่วนมหาเศรษฐีชัมภลนั้นได้ต้นแบบมาจากรูปสลักหิน อายุกว่าพันปี ที่เขาเฟยไหลฟง วัดหลิงหยิน เมืองหังโจว ประเทศจีน
ตามพุทธสูตรกล่าว ไว้ว่า "ขอเพียงแต่วาดภาพหรือแกะสลักรูปของมหาเศรษฐีชัมภล จะคิดสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นสมดังใจปรารถนา เทวรูปมั่งคั่งองค์นี้ก็คือ เทพธนาของพระพุทธศาสนานิกายตันตระ มีพระนามว่า รัตนโกศมหาพญายักษ์ มีหน้าที่ปกครองดูแลโภคทรัพย์อย่างมั่นคง"
ในการสวดมนต์ขอพรเทพเจ้า แห่งโชคลาภนั้น ทางฝ่ายตันตระมหายานก็จะใช้คาถาตามที่กล่าวไป เพื่อขอพรให้ท่านประทานโชคลาภและความร่ำรวย ทั้งยังมีอานุภาพในการคุ้มครอง ปกป้องทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วให้ปลอดภัย รวมถึงจากบรรดาภูติผีปีศาจ อำนวจชั่วร้ายทั้งปวงก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ เพราะท่านคือ มหาราช ผู้เป็นจตุโลกบาล เจ้าแห่งยักษ์
เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี้ย) สามารถจัดแบ่งได้ดังนี้
1. ปางมหาเศรษฐีชัมภล ซึ่งเป็นปางที่ใหญ่สุด และมีความเก่าแก่ที่สุด กว่า 1,000 ปี (กำเนิดจากพระพุทธศาสนามหายาน)
2. ปางบู๊ ทรงเครื่องนักรบโบราณ มีเสือ หรือ สิงห์ ประทับอยู่ด้วย คติมาจากความที่เป็นยักษ์นั่นเอง ทั้งพุทธมหายานและเต๋า ก็มีการประยุกต์มาเช่นกัน
บูไฉ่ซิงเอี้ย
ฝ่าย บู๊ - ชื่อ "เจ้ากงหมิง" เรียก บูไฉ่ซิงเอื้ย เป็นนักพรตหน้าตาดุดัน บำเพ็ญเพียรอยู่บนเขาง้อไบ๊ จนสำเร็จเซียน มีเสือโคร่งเป็นบริวาร ทั้งยังมีอาวุธวิเศษคุ่กายหลายอย่าง เช่น แส้เหล็ก, ไข่มุกวิเศษ, เชือกล่ามมังกร เจ้ากงหมิงรู้ว่า เจียงไท้กงมีอำนาจในการแต่งตั้ง "เทพเจ้า" จึงบังคับให้แต่งตั้งตนเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ เจียงไท้กงเพลี่ยงพล้ำสู้เจ้ากงหมิงไม่ได้ เลยบอกว่าจะมีเทพเจ้าในตำแหน่งเดียวกัน 2 คนได้อย่างไร ถ้าเจ้ากงหมิงได้หัวใจของปี่กานมา ก็จะสถาปนาให้ เจ้ากงหมิงจึงบัญชาให้เสือโคร่งไปควักหัวใจของปี่กานมา ปรากฎว่าเสือกระโจนใส่และฉีกร่างของปี่กานควานหาหัวใจแต่ไม่พบ ต่อมาเจียงไท้กงสำนึกว่า ตนหลอกเจ้ากงหมิงเพื่อเอาตัวรอด ดังนั้น จึงยอมสถาปนาให้เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภในฝ่ายบู๊
3. ปางบุ๋น เป็นรูปขุนนางจีนดังที่เห็นกันทั่วไป ซึ่งปางนี้กำเนิดภายหลังไม่กี่ร้อยปี คล้ายคลึงกับเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ของจีน เช่น ตี่จูเอี้ย แป๊ะกง ฯลฯ อาจจะมีคฑายู่อี่และถือก้อนเงินจีนโบราณ มีที่มาจากลัทธิเต๋าอย่างชัดเจน
ฝ่ายบุ๋น - ชื่อ "ปี่กาน" เรียก "บุงไฉ่ซิงเอี้ย" เป็นอัครเสนาบดี ของจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาง เป็นอัครเสนาบดีที่ซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน มักจะกราบทูลฮ่องเต้ที่ลุ่มหลงในพระสนมให้ว่าราชการอยู่เนือง ๆ ฝ่ายพระสนมจึงไม่ค่อยชอบขี้หน้าอัครเสนาบดีปี่กาน ก็เลยหาวิธีกลั่นแกล้ง ทำเป็นล้มป่วย สมคบกับแพทย์หลวง ราชสำนัก ทูลฮ่องเต้ขอหัวใจของปี่กานมาทำยา เจียงไท้กงเทพอาวุโสบนสวรรค์ล่วงรู้ จึงให้ยาอมตะไปเม็ดหนึ่ง ครั้นเมื่อปี่กานควักหัวใจให้สนมเอก ก็หาได้จบชีวิตอันใดไม่ กลับหมดอาลัยในชีวิตราชการ เดินออกจากวังหลวงเที่ยวโปรยเงินไปทั่วเพื่อแจกจ่ายชาวบ้าน ครั้นสิ้นอายุขัยก็ไปจุติเป็นเซียน เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ
จะ เห็นได้ว่า เทพเจ้าแห่งโชคลาภ มีความเก่าแก่ยาวนานและมีประวัติความเป็นมาที่สากลปรากฎในหลายประเทศแถบทวีป เอเซีย แต่ของลัทธิเต๋านั้นมากำเนิดขึ้นภายหลังในประเทศจีน ซึ่งจะมีกึ่งตำนานกึ่งนิทานตามตำนานมหาเทพของจีน (ฮงสิงปั้ง) ที่เป็นบุคคลธรรมดาต่อมาภายหลัง เมื่อเสียชีวิตจึงได้รับการยกเป็นเทพ เช่นเทพเจ้ากวนอู