22 พ.ย. , 2024, 04:54:59 pm

Author Topic: *** สุขภาพ : นอนตรงเวลาทำให้คะแนนสอบดี  (Read 6681 times)

fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

การศึกษาใหม่พบเด็กๆ ที่เข้านอนตรงเวลา (และนอนมากพอ) ทำคะแนนสอบด้านภาษา การอ่าน และคณิตศาสตร์ (คำนวณ / คิดเลข)
ได้ดีกว่าเด็กๆ ที่นอนดึก (หรือนอนไม่พอ)
 
อ.ดร.อีริกา เกย์เลอร์ และคณะจากสถาบัน SRI International, แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 4 ปีพบว่า
เด็กๆ ก่อนวัยเรียน (pre-school) ที่นอนน้อยกว่า 11 ชั่วโมง/คืน ทำคะแนนได้น้อยลง
...
 
การศึกษากลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 9 เดือนและ 4 ปีพบว่า การเข้านอนตรงเวลาทำให้คะแนนสอบด้านภาษา
การฟัง การอ่านออกเขียนได้ และคณิตศาสตร์ดีขึ้น
 
การศึกษาก่อนหน้านี้ (ตีพิมพ์ใน Sleep Medicine) พบว่า
เด็กๆ ที่นอนหลัง 3 ทุ่มใช้เวลาตั้งแต่เข้านอนจนถึงหลับนานขึ้น ทำให้ช่วงเวลานอนหลับสั้นลง


fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
อนาคตของเด็กที่นอนไม่พอ
อาจารย์ Po Brosnan & Ashley Merryman ตีพิมพ์เรื่อง
'What losing an hour's sleep really does to your children' = "การสูญเสียชั่วโมงนอน (นอนไม่พอ) ส่งผลต่อเด็กๆ อย่างไร"

...

การสำรวจใน อังกฤษ (UK) พบเด็กๆ สมัยใหม่นอนน้อยกว่าเมื่อ 30 ปีก่อนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไป
 (primary school = ประถมศึกษา; secondary school = มัธยมศึกษา)

ครึ่งหนึ่งของเด็กก่อนวัยรุ่น (pre-teens) ได้นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง/คืนในวันทำการ (weekday = วันจันทร์-ศุกร์),
เด็กมัธยมฯ แย่กว่านั้น คือ นอนเฉลี่ย 6 ชั่วโมงเศษ/คืน

...

สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เด็ก UK ไม่ค่อยได้นอน คือ ตารางกิจกรรม เช่น เรียนพิเศษ การบ้าน ฯลฯ, TV, โทรศัพท์มือถือ
และอะไรอีกสารพัด (เช่น อินเตอร์เน็ต ฯลฯ)

แถมคุณพ่อคุณแม่ยังกลับบ้านดึกอีกต่างหาก

...

สมองของคนเรา มีพัฒนาการ (progress) ไปจนถึงอายุ 21 ปี และจะมีพัฒนาการสำคัญตอนหลับ

อ.ดร.อาวิ ซาเดฮ์ และคณะจากมหาวิทยาลัยเทล อาวีฟ ทำการทดลองให้เด็กนักเรียน 77 คนนอนเร็วขึ้น หรือตื่นช้าลง 3 คืน

...

การศึกษานี้มี เครื่องวัดเวลานอนผ่านเครื่องวัดที่ทำให้คล้ายนาฬิกาข้อมือ

งานแรก คือ ให้กลุ่มหนึ่งนอนมากขึ้น 30 นาที, อีกกลุ่มหนึ่งนอนน้อยลง 31 นาที... หลังจากนั้นจับมาทดสอบไอคิว (IQ)

...

ผลการศึกษาพบ ว่า การนอนไม่พอ 1 ชั่วโมงทำให้พัฒนาการของสมองเด็กช้าลง = 2 ปี หรือเทียบเท่าเด็กมีอายุน้อยลง 2 ปี

การศึกษาอีกรายงานหนึ่งใช้เครื่องสแกนไฮเทค MRI หรือเครื่องตรวจสนามแม่เหล็ก-คลื่นวิทยุ, ผลการศึกษาพบว่า
เด็กที่นอนไม่พอมีความจำแย่ลง เนื่องจากสมองขาด 'plasticity' หรือความสามารถในการสร้างจุดเชื่อมใหม่ (forming new connections) ลดลง

...

สมองคนเราสะสม ความจำได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ ผ่านการสร้างสารเคมี และการสร้างจุดเชื่อมต่อใหม่ ซึ่งเปรียบคล้ายการตัดถนนสายใหม่
หรือคล้ายการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเป็นเครือข่ายใหม่ ทำให้สมรรถภาพดีขึ้น

สมองของคนที่นอนไม่พอมักจะหมดเรี่ยวหมดแรงไว เนื่องจากความสามารถในการดึงน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ทำได้แย่ลง

...

สมองส่วนหน้า บริเวณใกล้ขมับ (prefrontal cortex) ซึ่งทำหน้าที่ด้านการประมวลผลชั้นสูง หรือรวบรวมข้อมูลทั้งหมด
แล้วประมวลผลอย่างซับซ้อน บอบบางต่อการอดนอนมากกว่าส่วนอื่นๆ

อ.ดร.แมทติว วอล์คเกอร์จากสหรัฐฯ กล่าวว่า สมองคนเรามีการปรับเปลี่ยนประสบการณ์ในรอบวัน จัดหมวดหมู่ใหม่ แล้วเก็บเป็นความจำ

...

สมองแต่ละส่วน ประมวลผลในระหว่างการนอนหลับต่างกัน เช่น ความจำภาษาต่างประเทศซึ่งต้องจำศัพท์ เสียง และการเคลื่อนไหว
(เช่น วิธีออกเสียง ท่าทาง ฯลฯ) จะถูกเรียบเรียงใหม่ในช่วงหลับลึก และไม่ฝัน (slow-wave sleep)

ส่วนความทรงจำที่เกียวข้องกับอารมณ์-ความรู้สึก จะถูกเรียบเรียงใหม่ในช่วงการนอนหลับไม่ลึก และฝัน (REM / dreaming sleep)

...

เด็กๆ มีช่วง การนอนหลับลึกนานกว่า 40% ของเวลาหลับทั้งหมด (มากกว่าผู้ใหญ่) ทำให้เด็กๆ ตื่นยากกว่า และจดจำอะไรๆ ได้ดีกว่าผู้ใหญ่

...

ข่าวร้าย คือ การนอนไม่พอทำให้สมองส่วนฮิปโปฯ (ฝ่ายดีหรือฝ่ายเป็นกลาง)
ทำงานได้แย่ลงมากกว่าสมองส่วนอะมิกดาลา (ฝ่ายร้าย ดาราฝ่ายร้าย)

ผลคือ การนอนไม่พอมีแนวโน้มจะทำให้คนเราแย่ลง เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เหงา กินจุ ฯลฯ

...

อ.อะลิซาเบต แวนเดวอเทอร์และคณะจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส US ทำการศึกษาพบว่า เด็กอ้วนไม่ได้ดู TV มากกว่าเด็กผอม

หลังยุค 70s (1970-1979 = พ.ศ. 2513-2522), เด็กๆ ดู TV เพิ่มขึ้น 7 นาทีเศษ/วัน,
ทว่า... เด็กๆ ใช้เวลาเล่นวิดีโอเกมส์มากขึ้นประมาณ 1/2 ชั่วโมง,
ใช้เวลาเล่นเน็ตมากกว่าดู TV ทำให้เด็กๆ หลังยุค 1980 (พ.ศ. 2523) อ้วนขึ้นมาก

...

อ.ดร.อีฟ วาน เคาเทอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับพบความสัมพันธ์ว่า การนอนไม่พอทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนไป คือ

(1). ทำให้ ฮอร์โมนเกรลอิน (ghrelin) หรือฮอร์โมนหิวเพิ่ม

(2). ฮอร์โมนเล พทิน (leptin) หรือฮอร์โมนอิ่ม (ยับยั้งความหิว) ลดลง

(3). ฮอร์โมน คอร์ทิซอล (cortisol) หรือฮอร์โมนตอบสนองต่อความเครียดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อไขมัน

(4). ฮอร์โมน โกรต (growth) หรือฮอร์โมนช่วยการเจริญเติบโต-ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ-เพิ่มการสลายเนื้อเยื่อ ไขมัน
      ซึ่งมักจะหลั่งออกมามากตอนเริ่มนอนลดลง

...

เด็กที่นอนไม่ พอมักจะเหนื่อยเกินไปที่จะออกแรง-ออกกำลัง,