การมีน้ำหนักหรือรอบเอวเกินมีแนวโน้มจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ซึ่งวิธีแก้ไขที่ดีวิธีหนึ่ง คือ ให้เปลี่ยนจาก "อ้วนไม่ฟิต" เป็น "อ้วนฟิต" (Turn 'fat' to 'fit')
ทีนี้ถ้าสูงหรือเตี้ย, เท้า(ตีน)โต, หัวเล็ก, นิ้วยาว, หรือขายาวจะเสี่ยงอะไรบ้าง...
วันนี้มีคำตอบจากเว็บไซต์ 'MailOnline' มาฝาก วันนี้เราจะออกแนวโหงวเฮ้งหรือโหราศาสตร์กันครับ
...
คณะนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยซังกวนกวาน (Sungkyunkwan U) เกาหลีใต้พบว่า
คนเรา... ยิ่งสูงยิ่งหนาว คือ ยิ่งสูงยิ่งมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น
อ.รอเจอร์ ดอบซันได้ไอเดีย จึงทบทวนการศึกษาวิจัยมาให้พวกเราเสร็จสรรพ ได้ผลลัพธ์มาดังต่อไปนี้
(1). พวกผู้หญิงตัวสูง > เพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม
(1.1). มะเร็งเต้านม
ผู้หญิงที่สูงเกิน 5 ฟุต 9 นิ้ว = 175.26 เซนติเมตรมีความเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) มะเร็งเต้านม และโอกาสตายจากมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
การศึกษา 2 รายงานจากสหรัฐฯ พบว่า ผู้หญิงที่สูงมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
กลไกที่เป็นไปได้คือ ฮอร์โมนโกรต (growth hormone - ฮอร์โมนโกรต ผู้ไม่เคยโกรธใคร
= ฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย) มีระดับสูง หรือร่างกายไวต่อฮอร์โมนนี้ ทำให้โตเร็ว
ผู้หญิงที่ตัวสูงไม่ได้สูงแต่ตัว แต่มีแนวโน้มจะมีขนาดเต้านมใหญ่ขึ้น-ยาวขึ้น ท่อน้ำนมยาวขึ้น (ความยาวของท่อน้ำนมทั้งหมดรวมกัน)
มะเร็งเต้านมเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นที่ท่อน้ำนม ทำให้คนที่มี่ความยาวเต้านมสูง หรือมีท่อน้ำนมยาวกว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
...
(2.2). มะเร็งตับอ่อน
ผู้หญิงที่สูงเกิน 5 ฟุต 6 นิ้ว = 165.66 เซนติเมตรเพิ่มเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน 81%
คนที่สูงเกิน 165.66 ซม. เพิ่มเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน 6-10% ต่อความสูงทุกๆ 1 นิ้ว = 2.51 ซม.ที่เพิ่มขึ้น > ยิ่งสูงยิ่งเสี่ยง
...
(2). พวกผู้ชายตัวสูง > เพิ่มเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
(2.1). มะเร็งต่อมลูกหมาก
ผู้ชายตัวสุงเกิน 6 ฟุต หรือ 182.88 เซนติเมตรมีความเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) มะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้น
การศึกษาจากโรงพยาบาลบริแกม แอนด์ วีเมนส์ บอสตัน (เป็นโรงพยาบาลที่ใช้บริการ งานสอน และทำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด)
ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้ชาย 22,000 คน ติดตามไปกว่า 12 ปี
...
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่สูงเกิน 6 ฟุตเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้น 59% เมื่อเทียบกับผู้ชายสูงน้อยกว่า 5 ฟุต 7 นิ้ว (170.18 เซนติเมตร)
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยบริสทอล อังกฤษพบว่า
ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 4 นิ้ว = 10.16 เซนติเมตร เพิ่มเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก 6% > ยิ่งสูงยิ่งเสี่ยง
...
กลไกที่เป็นไปได้คือ
คนที่ตัวสูงน่าจะมีระดับฮอร์โมนโกรต หรือร่างกายไวต่อฮอร์โมนโกรตที่ทำหน้าที่สร้างและซ่อมแซมร่างกายมากกว่าคนทั่วไป
นอกจากนั้นคนที่สูงมากๆ ยังมีระดับ IGF-1 (insulin-like growth factor-I) สูงขึ้น เจ้า IGF-1 ที่สูงเพิ่มเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากเช่นกัน
...
(2.2). มะเร็งตับอ่อน
สถาบันมะเร็งสหรัฐฯ (NCI) ทำการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่สูงเกิน 6 ฟุต 1 นิ้ว = 183.23 เซนติเมตร เพิ่มเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน 81%
คนที่สูงเกิน 183.23 ซม. เพิ่มเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน 6-10% ต่อความสูงทุกๆ 1 นิ้ว = 2.51 ซม.ที่เพิ่มขึ้น > ยิ่งสูงยิ่งเสี่ยง
...
รายงานจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันกล่าวว่า
มีความเป็นไปได้ที่ฮอร์โมนและปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนเราสูงเกินค่าเฉลี่ยมีส่วนทำให้เซลล์ที่ผิดปกติ หรือมะเร็งโตเร็วขึ้น
...
(3). พวกผู้หญิงเท้าโต-ตัวใหญ่-ไหล่กว้าง > เพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม
มหาวิทยาลัยบริสทอล อังกฤษทำการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่เท้าโต
(ค่าเฉลี่ยของคนอังกฤษ = UK size = 5; ของคนไทยไม่ทราบข้อมูล แนะนำให้เทียบกับค่าเฉลี่ยของเพื่อนๆ วัยเดียวกัน),
ลำตัวใหญ่-ไหล่กว้างตั้งแต่วัยเด็กมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น [ sizethailand ]
กลไกที่อาจเป็นไปได้คือ คนที่มีรูปร่างใหญ่กว่าได้รับอาหารคิดเป็นแคลอรีมากกว่า หรืออาจเป็นผลจากฮอร์โมน
หรือสารกระตุ้นการเจริญเติบโตสูงกว่า (เข้ากับสมมติฐานที่ว่า คนสูงมีเต้านมใหญ่ขึ้น เต้านมยาวขึ้น ท่อน้ำนมยาวขึ้น)
...
(4). พวกผู้ชายเตี้ย
ผู้ชายที่มีความสูงน้อยกว่า 5 ฟุต 7 นิ้ว = 168.17 ซม.
เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจกำเริบ (heart attacks) มากกว่าผู้ชายที่สูงกว่า 6 ฟุต 1 นิ้ว = 183.23 ซม. 60%
ผู้ชายสูงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจกำเริบน้อยกว่า 35%
และความเสี่ยงจะลดลง 2-3% ต่อความสูงที่เพิ่มขึ้น(มากกว่า 183.23 ซม.) > ยิ่งสูงยิ่งปลอดภัย ยิ่งเตี้ยยิ่งเสี่ยง
...
กลไกที่เป็นไปได้คือ ผู้ชายที่ตัวเตี้ยกว่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหลอดเลือดน้อยกว่า
ทำให้เสี่ยงต่อโอกาสอุดตันมากขึ้น เปรียบคล้ายท่อเล็กมีโอกาสอุดตันมากกว่าท่อใหญ่
...
(5). พวกคนตัวเตี้ย > โรคกระเพาะอาหารอักเสบ-เป็นแผล
คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริสทอลพบว่า
คนที่ตัวเตี้ยมีความเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) ในการติดเชื้อเฮลิโคแบคเทอร์ ไพโลรี (Helicobacter pylori - ชื่อคล้ายเฮลิคอปเตอร์) มากขึ้น
กลไกที่เป็นไปได้คือ
การติดเชื้อนี้ตั้งแต่เล็กมีส่วนทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ หรือเป็นแผลได้ง่าย ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้องได้บ่อยขึ้น ทำให้โตช้าลง
...
(6). พวกคนเตี้ย+ขาสั้น > ความดันเลือดสูง
การศึกษาจากอังกฤษ (UK) ติดตามคน 3,000 คนตั้งแต่แรกเกิดพบว่า
คนขายาวเสี่ยงโรคความดันเลือดสูงน้อยกว่าคนขาสั้น ความยาวขามีแนวโน้มจะแปรตามความสูง > ยิ่งสูงขายิ่งยาว
...
กลไกที่เป็นไปได้คือ คนที่ตัวสูงมีแนวโน้มจะได้รับอาหารดีกว่าในวัยเด็ก ทำให้มีรูปร่างสูงกว่า หลอดเลือดมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า
โอกาสหลอดเลือดเสื่อมสภาพหรืออุดตันน้อยกว่าคนที่มีหลอดเลือดขนาดเล็ก
เรื่องนี้สนับสนุนทฤษฎีของคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอนที่ว่า คนที่ขาดอาหารในช่วงแรกของชีวิต
เสี่ยงโรคหลอดเลือดเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ
...
(7). พวกหัวเล็ก+ขาสั้น
พวกหัวเล็ก+ขาสั้นเสี่ยงสมองเสื่อม
การศึกษาทำในผู้หญิงสูงอายุพบว่า
พวกหัวโต (เส้นผ่าศูนย์กลาง 57-58 ซม.) สมองเสื่อมประมาณ 20% ขณะที่พวกหัวเล็ก (51-51 ซม.) สมองเสื่อม 70%
...
การศึกษาจากเยอรมนีพบว่า
ผู้ชายและผู้หญิงที่หัวเล็กกว่าค่าเฉลี่ย (หัวคนเยอรมันมีขนาด 58 ซม.ในผู้ชาย; 55 ซม.ในผู้หญิง) เสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นชัดเจน
กลไกที่เป็นไปได้คือ พวกคนหัวโตมักจะมีขนาดสมองโตกว่า จำนวนเซลล์ประสาทมากกว่า ทำให้มีกำลังสมองสำรองมากกว่า
(สมมติฐาน "กำลังสำรองสมอง" - 'Cerebral reserve capacity hypothesis')
...
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์แห่งชาติชอนนาม เกาหลีใต้ (Chonnam National U) พบว่า พวกขาสั้น+แขนสั้นเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น
กลไกที่เป็นไปได้คือ
พวกแขนขาสั้นมีแนวโน้มจะได้รับสารอาหารแย่กว่าพวกแขนขายาวในวัยเด็ก ทำให้สมองและแขนขามีขนาดเล็กกว่าค่าเฉลี่ย
...
(
. พวกขาสั้น
คนที่ขายาวมีความเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2 (พบในเด็กอ้วนหรือผู้ใหญ่) น้อยลง ขณะที่พวกขาสั้นเสี่ยงเบาหวานเพิ่มขึ้น 20%
ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยบริสทอล อังกฤษ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 4,200 คนพบว่า ขาที่ยาวขึ้น 4.3 ซม. เสี่ยงเบาหวานลดลง 19%
...
กลไกที่เป็นไปได้คือ
การได้รับอาหารดีในวัยเด็กทำให้ความสูงเพิ่มขึ้น + ขายาวขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า คนที่มีโภชนาการวัยเด็กไม่ดีเสี่ยงเบาหวานเพิ่มขึ้น
ความสูงของคนเราไม่ได้แปรตามอาหารอย่างเดียว
ทว่า... ต้องนอนพอ และหลับสนิทด้วย จึงจะสูงขึ้นได้เต็มที่ [ ปัจจัยที่มีผลต่อความสูง ]
...
(9). พวกนิ้วยาว
ความยาวของนิ้วมีความสัมพันธ์กับโรคออทิสติก (autism / autistic), สมาธิสั้น (ADHD), ปัญหาสุขภาพจิต, และโรคซึมเศร้า
ระดับฮอร์โมนตอนอยู่ในท้องแม่มีผลต่อความยาวของนิ้วชี้และนิ้วนางเป็นอย่างมาก
...
ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone - เทสโทสเทอโรน) ทำให้นิ้วนางค่อนข้างยาว ส่วนฮอร์โมนเพศหญิง (estrogen - เอสโทรเจน) ในท้องแม่
ทำให้นิ้วชี้ยาว ความยาว-ความสั้นในที่นี้หมายถึงสัดส่วนระหว่างนิ้วชี้และนิ้วนาง
นิ้วนาง (ring finger - ความเชื่อสมัยละตินคือ เลือดจากนิ้วนางจะวิ่งตรงไปยังหัวใจ ทำให้ต้องใส่แหวนหมั้นที่นิ้วนี้) ที่ยาวมากๆ
มีความสัมพันธ์กับโรคออทิสติก (autism), สมาธิสั้น (ADHD)
...
ส่วนนิ้วชี้ (index finger) เพิ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้า
นักวิจัยสังเกตว่า พวกผู้ชายส่วนใหญ่จะมีนิ้วนางยาวกว่านิ้วก้อย และผู้ชายที่เป็นโรคออทิสติก หรือโรคสมาธิสั้น มักจะมีนิ้วนางยาวมากเป็นพิเศษ
...
คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล อังกฤษทำการศึกษาพบว่า
ระดับฮอร์โมนเพศชายในท้องแม่ที่สูงมากๆ อาจทำให้ผู้ชายบางคนเกิดมาเป็นเด็กออทิสติก
...
สรุปคือ
(1). พวกตัวสูง อวัยวะยาว > เพิ่มเสี่ยงมะเร็ง
(2). พวกตัวเตี้ย แขนขาสั้น > เสี่ยงโรคหัวใจ ความดันเลือดสูง เบาหวาน + โรคกระเพาะฯ + สมองเสื่อม (ถ้าหัวเล็กร่วมด้วย)
(3). พวกนิ้วชี้ยาว > เสี่ยงโรคซึมเศร้า
(4). พวกนิ้วก้อยยาว > เสี่ยงโรคออทิสติก + สมาธิสั้น