23 พ.ย. , 2024, 02:39:38 am

Author Topic: สุขภาพ : วิธีป้องกันสายตาสั้น (ตั้งแต่เด็ก)  (Read 5298 times)

fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Lack of outdoor play linked to short-sighted children' =
"ขาดการเล่นกลางแจ้ง (มีความสัมพันธ์กับ) เพิ่มเสี่ยงเด็กสายตาสั้น"
 
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทบทวนการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา 8 รายงาน รวมกลุ่มตัวอย่างเด็ก-วัยรุ่นมากกว่า 10,000 คน
(นำเสนอในที่ประชุมประจำปี Am Academy of Ophthalmology) พบว่า การให้เด็กๆ ได้เล่นกลางแจ้งเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ลดความเสี่ยงสายตาสั้น (myopia) 2%
 •[ short-sighted ] = สายตาสั้น (= myopia ในศัพท์แพทย์)
 •[ long-sighted ] = สายตายาว
 
คำแนะนำทั่วไป คือ เด็กๆ ควรมีเวลาเล่น หรือออกแรง-ออกกำลังอย่างน้อย 2 ชั่วโมง/วัน
(เด็กมักจะเล่นๆ หยุดๆ ตามธรรมชาติ ไม่ค่อยเล่นต่อเนื่อง หักโหมแบบผู้ใหญ่) = 14 ชั่วโมง/สัปดาห์
 
กลไกที่เป็นไปได้ คือ การเล่นกลางแจ้งทำให้เด็กๆ มีโอกาสมองไกลมากขึ้น มองใกล้น้อยลง และได้รับแสงตามธรรมชาติ (แสงแดด) มากขึ้น
 
เด็กที่มีสายตาสั้น (short-sighted) ใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อยกว่าเด็กที่มีสายตาปกติ (normal vision)
หรือสายตายาว (long-sighted) เฉลี่ย = 3.7 ชั่วโมง/สัปดาห์
 

ดร.เชอร์วิน หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่า การได้มองไกลมากขึ้น มองใกล้น้อยลง ได้รับรังสี UV ตามธรรมชาติ
(ซึ่งทำให้ผิวหนังสังเคราะห์วิตามิน D เพิ่มขึ้น), หรือการออกแรง-ออกกำลัง อาจมีผลต่อความเสี่ยงสายตาสั้นที่น้อยลง
 
ข้อควรระวัง คือ การได้รับแสงแดดจ้านานๆ เพิ่มเสี่ยงอันตรายจากอัลตราไวโอเล็ต (ultraviolet / UV)
ซึ่งเพิ่มเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก (cataracts = เลนส์ตาขุ่นขาว ไม่ใส)
 

การให้เด็กๆ ได้เล่นกลางแจ้งมีส่วนช่วยป้องกันน้ำหนักเกิน-โรคอ้วน เบาหวาน ขาดวิตามิน D, กระดูกโปร่งบาง/กระดูกพรุน
ซึ่งอาจทำให้กระดูกหักง่ายเวลาหกล้ม โดยเฉพาะกระดูกต้นขาใกล้ข้อสะโพก ปลายแขนท่อนล่าง
หรือหลังโกงจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง
 
 
สถิติอังกฤษ (UK) และสหรัฐฯ พบว่า
คนรุ่นใหม่สายตาสั้นมากขึ้นในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา, เด็กอังกฤษ (UK) อายุ 5-7 ปีมีปัญหาสายตาสั้น 1-2%
 
อังกฤษ (UK) ซึ่งมีประชากรใกล้เคียงกับไทยมีคนสายตาสั้น (short-sighted) 5%
และสั้นมาก (seriously short-sighted) 200,000 คน

 
การหักเหแสงของลูกตาพบมากที่สุดบริเวณรอยต่ออากาศกับกระจกตา (cornea)
เนื่องจากแสงเดินทางข้ามสถานะ จากแก๊สไปยังของเหลว (ร่างกายคนเรามีน้ำ หรือของเหลวเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่)
 
 
ภาวะสายตาสั้น (short-sightedness) เกิดจากลูกตาหรือกระบอกตา (eyeball)
มีความยาวมากเกินในแนวหน้า-หลัง หรือแก้วตา (cornea) มีความโค้งมากเกิน
 
 
อ.ดร.ซูซาน เบลคเนย์ ที่ปรึกษาสถาบันทัศนศาสตร์ (optometrists) กล่าวว่า ปกติเด็กๆ จะมีสายตายาว (long-sighted)
ตอนแรกเกิด, เมื่อลูกตาโตขึ้นตามขนาดร่างกาย จะมีการเพิ่มความยาวลูกตาในแนวหน้า-หลัง
ทำให้เด็กส่วนใหญ่มีสายตาพอดี ไม่สั้น และไม่ยาว
 
เด็กที่มีความยาวลูกตาในแนวหน้า-หลังมากเกินตั้งแต่แรกเกิด มีแนวโน้มจะมีปัญหาสายตาสั้นช่วงวัยรุ่น

 
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป
ทว่า... บอกเป็นนัยว่า การให้เด็กๆ มีโอกาสได้ออกไปกลางแจ้งช่วงเช้า ช่วงเย็น หรืออยู่ในที่กว้างในร่ม
เช่น สนามกีฬาในร่ม ฯลฯ น่าจะส่งผลดีกับสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะการป้องกันสายตาสั้น