บ้านสุขภาพ
BBC ตีพิมพ์เรื่อง Fast-food 'linked to childhood asthma and eczema
= "อาหารจานด่วน (ฟาสต์ฟูด - fast food) เพิ่มเสี่ยง (มีความสัมพันธ์กับโรค) หอบหืดและภูมิแพ้ผิวหนังวัยเด็ก"
การศึกษาใหม่ รวบรวมข้อมูลจากเด็กมากกว่า 500,000 คน จาก 50 กว่าประเทศ
พบว่า การกินอาหารจานด่วน หรือฟาสต์ฟูด (fast food) 3 ครั้ง/สัปดาห์ เพิ่มเสี่ยงโรคหอบหืด (asthma), โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (eczema)
ในเด็ก และภูมิแพ้ตาอักเสบ
ตรงกันข้ามการกินผลไม้ทั้งผลให้มากพอ มีส่วนช่วยป้องกันโรคเหล่านี้
กลไกที่เป็นไปได้ คือ ฟาสต์ฟูดมีไขมันอิ่มตัว (saturated-fatty acids / SFA) และไขมันทรานส์ (trans-fatty acids / TFA) สูง
ไขมันอิ่มตัวพบมากในกะทิ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว (ถ้าต้องการน้ำมันมะพร้าวหีบเย็น... แนะนำให้ซื้อกะทิมาหีบ แล้วเก็บน้ำมันจากกะทิ), ผลิตภัณฑ์นม ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู มันสัตว์ เครื่องในสัตว์ ฯลฯ
เนื้อสำเร็จรูป เช่น หมูแผ่น หมูหยอง ไส้กรอก ไส้อั่ว หมูแฮม เบคอน ฯลฯ
ส่วนใหญ่จะปนไขมันสัตว์เข้าไปประมาณ 20-30% เพื่อให้รสมัน อร่อย
ไขมันทรานส์ส่วนใหญ่มาจากการนำไขมันพืช ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันปาล์ม ไปเติมไฮโดรเจน
ทำให้ไขมันเปลี่ยนรูป (trans- = เปลี่ยนแปลง) จากของเหลวใส ไปเป็นของกึ่งแข็ง ขุ่นขาว เป็นผง คล้ายๆ คอฟฟี่เมต
ไขมันทรานส์ทนความร้อนสูง เก็บได้นาน ไม่เหม็นหืนง่าย นิยมใช้ในการทำฟาสต์ฟูด
.
การศึกษานี้พบว่า การกินฟาสต์ฟูด 3 ครั้ง/สัปดาห์ขึ้นไป เพิ่มเสี่ยงโรคหอบหืดดังนี้
เด็กอายุ 6-7 ปี > เพิ่มเสี่ยง 27%
เด็กอายุ 13-16 ปี (early teens) > เพิ่มเสี่ยง 39%
ตรงกันข้าม, การกินผลไม้ทั้งผล 3 ส่วนบริโภคหรือเสิร์ฟ (servings / Sv) ต่อสัปดาห์ หรือมากกว่านั้น
ลดเสี่ยงโรคหอบหืด ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และตา-จมูกอักเสบ 11-14%
.
1 ส่วนบริโภคหรือเสิร์ฟของผลไม้ = กล้วยหรือส้มขนาดกลาง 1 ผล
1 ส่วนบริโภคหรือเสิร์ฟของผักสด คิดเท่าผลไม้
ผักสุกจะยุบตัวลงครึ่งหนึ่ง ทำให้ 1 ส่วน = กล้วยหรือส้มขนาดกลาง 1/2 ผล
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า อาหารบางอย่าง เช่น นมวัว ไข่ ปลา หอย ผลิตภัณฑ์ที่มียีสต์ปน (เช่น เบเกอรี ขนมปัง ฯลฯ),
เมล็ดพืชเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ, สีผสมอาหาร ยากันบูด ทำให้โรคแย่ลงในบางคน (ไม่ใช่ทุกคน)
.
อ.มาเลย์กา ราฮ์มัน จากมูลนิธิโรคหอบอังกฤษ (Asthma UK) กล่าวว่า คนที่มีโรคหอบหืดควรกินอาหารให้ครบทุกหมู่อย่างพอดี
(มากไปทำให้อ้วนได้) และแนะนำให้กินอาหารดังนี้
ผักผลไม้ > 5 ส่วนบริโภค/วัน
ปลาที่ไม่ทอด (ต้ม นึ่ง แกง ผัด) > มากกว่า 2 ส่วนบริโภค/สัปดาห์
ถั่ว > มากกว่า 1 ส่วนบริโภค/สัปดาห์
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกินขนมปังขาว อาหารทำจากแป้งขัดสี น้ำตาล นม ผลิตภัณฑ์นมมากๆ เพิ่มเสี่ยงสิว