กลุ่มทิศ - ฤดู เป็นกำลังหลักของธาตุ โดยกำหนดจากฐานเดือน
กลุ่มทิศ ( ราศีล่าง ) |
ฤดู |
ธาตุที่มีกำลัง |
12...1...2 |
ฤดูหนาว |
น้ำ |
3...4... 5 |
ฤดูใบไม้ผลิ |
ไม้ |
6...7... 8 |
ฤดูร้อน |
ไฟ |
9...10...11 |
ฤดูใบไม้ร่วง |
ทอง |
ตย-1. หากดิถี ( รา๊ศีบนหลักวัน ) เป็นธาตุไม้ เกิดในฤดูหนาว ธาตุน้ำ
( น้ำ ให้กำเนิดไม้ ) ไม้ย่อมแข็งแรง แต่หนาวเย็น ต้องการไฟปรับอุณหภูมิ
ตย.-2 - ดิถีน้ำ เกิดในเดือนดิน /11
โดยทั่วไป ดินพิฆาตน้ำ น้ำย่อมอ่อนแอ
แต่ปรากฎว่า เป็นฤดูใบไม้ร่วง ทองมีกำลัง
น้ำจึงไม่อ่อนแอ และกลับแข็งแรง
ดังนั้น การพิจารณากำลังของรูปดวง จึงต้องพิจารณาฤดู ประกอบด้วยทุกครั้ง
* หากเกิดในฤดูหนาว หรือฤดูร้อน ต้องดูธาตุปรับอุณหภูมิ เพิ่มเติมด้วย *
ตย. ดิถีทอง เกิดในเดือนดิน /8 ฤดูร้อน
ดินให้กำเนิดทอง ทองควรแข็งแรง
แต่ปรากฎว่า ดินในฤดูร้อน ทองแย่ ถูกไฟพิฆาต
ทองไม่แข็งแรง
( ดิน /8 ไม่ส่งเสริมทอง )
ต้องการคู่ธาตุ และธาตุส่งเสริม เพื่อมาหนุนให้ทองแข็งแรง
และต้องการธาตุปรับอุณหภูมิ
- ธาตุน้ำ
ราศีแฝง
ราศีล่างทุกตัวจะแฝงด้วยราศีบน ราศีแฝงที่มีบทบาทมากที่สุดคือ ราศีธาตุดิน
ท้ายสุดของฤดูกาล ก่อนจะเปลี่ยนฤดูใหม่ จะเป็นธาตุดิน
ธาตุดินซึ่งอยู่ในทุกฤดูกาล
บทบาทจะผันแปรไป
ตามลักษณะองค์ประกอบที่แฝงอยู่
ธาตุดินทุกตัวจะแฝงด้วย
1.ราศีบนธาตุดิน อิมเอี๊ยงผันราศีล่าง
2. ราศีบน พลังอิม ที่เป็นตัวแทนกลุ่มไตรภาคี
3. ราศีบน พลังอิม ที่เป็นตัวแทนกลุ่มทิศ
ตย. ดินทิ่ว /2 จะแฝงด้วย
1. ราศีบนดิน อิม 6/
2. ราศีทิ่ว /2 เป็นกลุ่มไตรภาคีของทอง /6 /0 /2
ราศีบนธาตุทอง พลังอิม คือ ทองซิง 8/
3.
ราศีทิ่ว /2 เป็นกลุ่มทิศเหนือ ธาตุน้ำ /12 /1 /2
ราศีบนธาตุทอง
พลังอิม คือ น้ำกุ่ย 0/
ดังนั้น ดินทิ่ว ประกอบด้วย ดิน ทอง น้ำ
เป็นดินที่เย็น จึงเหมาะกับการรับการถ่ายเทจากไฟ
และไปกำเนิดทอง
จึงเรียก ดินเลน*
............................................
หมายเหตุ
การเรียงลำดับธาตุแฝงราศีบนข้างต้น เรียงใหม่เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย
( ธาตุดิน / ไตรภาคี / กลุ่มทิศ )
............................................
* คำเรียกดินฤดูต่าง ๆ โดยซือเฮียสุภชัย วิวัฒนะประเสริฐ
ข้อมูลทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Tutor : ทบทวนดวงจีน