เมื่อเกิดเหตุที่บุคคลในครอบครัวเสียชีวิต ก็มักจะมีผู้ใหญ่หรือผู้รู้ให้คำแนะนำต่าง ๆ
ซึ่งมาจากรับฟังต่อ ๆ กันมา หรืออาจเกิดจากความคิดเห็นของตนเอง บ่อยครั้งก็ขัดแย้งกัน โดยเฉพาะคำกล่าวดังต่อไปนี้
แป๊ะสื่อบ่อกี๋ - ร้อยเรื่องไร้โทษภัย
และ
เฮวียงซึงจี๊ซัวะ - ความตายระงับโทษภัย
ความหมายคือ เมื่อคนตายแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงที่สุดแล้ว จะไม่มีเรื่องร้ายอื่นใดอีก
ดังนั้น จะทำการใดเกี่ยวกับการฝังได้ ปลอดภัยหมด
และที่มักจะปฏิบัติกันคือ เมื่อครบ 7 วันก็ไปฝังบรรจุโดยไม่ดูฤกษ์
ข้อเท็จจริงตามหลักวิชา
สมัยก่อน เมื่อบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะพ่อแม่เมื่อสิ้นบุญ
ลูกหลานจะพยายามหา สถานที่ที่ดีที่สุด
กล่าวคือ ชัยภูมิดี สวยงาม มีองค์ประกอบครบถ้วน ทิศทาง ( องศา ) ถูกต้องกับบุคคลที่เสียชีวิต และต้องได้ฤกษ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้
( ส่วนใหญ่ไม่เกิน 4 ปี )
ดังนั้น การเก็บศพฝากไว้ที่ สุสาน จึงเป็นเรื่องปกติ และกระทำกันในหมู่คนที่มีเงิน
และบัณฑิต ผู้มีการศึกษา
เพราะหากไม่ดูฤกษ์ อาจจะเกิดเรื่องร้าย ( โทษอสูร ) เบาหน่อยก็เสียเงินเสียทอง ทะเลาะวิวาท
หนักหน่อย ธุรกิจเสียหาย อุบัติเหตุ ป่วยหนัก รุนแรงสุดถึงตาย
นอกจากการดูฤกษ์แล้ว ยังต้องดูว่า สุสาน ในทิศทางนั้น ให้คุณกับบุคคลที่บรรจุด้วย
เพราะหากผิดพลาด จะเกิดโทษร้ายดังข้างต้น แต่รุนแรงและยาวนานกว่า
เพราะกรณีฤกษ์ผิด ยังมีวันสิ้นสุด
คือมากสุดไม่เกิน 12 ปี
แต่หากทิศขัดแย้งหรือปะทะกับปีเกิด ผลร้ายตลอดชั่วชีวิต ของลูกหลานไม่มีสิ้นสุด
และจากประสบการณ์ของอาจารย์ที่ได้พบเห็นและบันทึกเป็นสถิติมากว่า 10 ปีพบว่า บุคคลที่ให้คำแนะนำเหล่านี้จะปลอดภัย
แต่ บุคคลที่กระทำตามคำแนะนำเหล่านั้น มักจะเกิดเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ และประสบเคราะห์กรรมเกือบทุกราย ***
และเมื่อไม่ทราบว่า การที่ตนเองประสบเหตุร้ายนั้น เกิดจากคำแนะนำที่ผิด โดยคาดว่าเป็นเรื่องบังเอิญ ทำให้บุคคลผู้ให้คำแนะนำ จึงไม่ได้รับรู้ว่าคำแนะนำนี้ผิด จึงทำให้คำแนะนำเหล่านี้จึงยังคงอยู่
ซานี้เอ๋า ไช่ไหล่ไป่ - 3 ปีหลังจากนี้ จึงค่อยมาไหว้
เมื่อฝังบรรจุแล้ว อีก 3 ปีจึงค่อยมาไหว้ โดยอาจมีความเชื่อจากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. กลัวโทษภัยจากอสูร
2. ขี้เกียจ ไม่อยากทำพิธี
3. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
4. ฟังหรือปฏิบัติต่อ ๆ กันมา
ข้อเท็จจริง
ผู้ที่ถูกฝังบรรจุ โดยเฉพาะกรณีที่เป็นพ่อแม่ ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเลี้ยงดูเรามา
มีบุญคุณต่อเราตลอดชีวิต
โดยธรรมเนียมโบราณ ยามเมื่อท่านสิ้นลม ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน ด้วยการผลัดกันไปเฝ้าอยู่ที่ สุสาน ( ฮวงจุ้ย / ฮวงซุ้ย ) เป็นเพื่อนพ่อแม่เป็นเวลา 3 ปี
แม้ว่าปัจจุบัน การไปเฝ้า สุสาน จะไม่สามารถกระทำได้
แต่การไม่ไปไหว้ในช่วง 3 ปีแรก ถือว่าลูกหลานขาดน้ำใจ
หรืออาจกล่าวได้ว่า อกตัญญู
ที่ถูกต้องคือ ให้ไปไหว้เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง
หมายเหตุ
สำหรับกรณีที่ลูกหลานทั้งครอบครัวขาดการไหว้ไปมากกว่า 1 ปี
เมื่อไปไหว้ใหม่ต้องดูฤกษ์
โบยตี่ - การซื้อที่
ก่อนการบรรจุฝัง มักจะโยนเหรียญบาทใส่หลุม สุสาน เพื่อเป็นการซื้อที่ให้กับคนตาย
ข้อเท็จจริงตามหลักวิชา
เหรียญมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่สุดในแผ่นดิน
ทำให้วิญญาณผู้ตายไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ จะต้องหนีไปที่อื่น
เช่นเดียวกับ กรณีการตัดต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมักจะเกิดเหตุกับผู้กระทำ
จึงต้องมีเหรียญหรือตราแผ่นดินประทับ ก็จะตัดได้โดยปลอดภัย
หลักการเดียวกันนี้ ยังใช้กับกรณีกระถางไหว้เจ้า กระถางไหว้บรรพบุรุษ
กล่าวโดยสรุป คือ ห้ามใส่เหรียญ
การเอาทรายลงหลุม สุสาน ( ฮวงจุ้ย / ฮวงซุ้ย )
มักปฏิบัติตามกันมา โดยผู้แนะนำหลายคนก็ไม่ทราบเหตุผล
ข้อเท็จจริง
ในกรณีที่ ที่นั้นเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง จะเททรายลงในหลุม สุสาน
เพื่อให้ทรายเป็นตัวบังคับโลงไม่ให้ลอย หรือเคลื่อนไปมาในหลุมตามกระแสน้ำ
แต่หากอยู่ในที่สูงห้ามทำ เพราะพื้นที่ในหลุมจะแน่น พลังอยู่ไม่ได้ก็จะหนีออกไป
การมีที่ว่างในหลุม สุสาน จะมีที่รองรับพลัง จึงจะส่งผลดีต่อลูกหลานได้
เซ็งกุ้ย - ขึ้นหิ้ง
เมื่อทำบุญ ครบ 100 วัน ก็จะนำรูปบรรพบุรุษขึ้นที่สูง คือ แขวนรูป โดยทั่วไปเมื่อครบกำหนดก็จะตอกผนัง แขวนรูปขึ้น
ข้อเท็จจริง
ต้องดูฤกษ์ อย่างน้อยที่สุดต้องเป็นฤกษ์ปลอดภัย
แต่หากเป็นไปได้ควรรอจนได้ฤกษ์ที่ดี
โดยดูราศีตำแหน่งที่ตั้ง ต้องไม่ขัดแย้งกับปีเกิดบรรพบุรุษ
และต้องดูทิศประธาน และทิศหลังบ้าน ทิศตั้ง
ห้ามปะทะและห้ามเป็นอสูร และห้ามปะทะปีเกิดผู้ประกอบพิธี
และในกรณีที่มีการกระทบกระเทือน ต้องพิจารณาดาว 9 ยุค ตำแหน่งนั้นห้ามเป็นดาว 5