ตี่จู้ เจ้าที่จีน เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ิ์ที่คนจีนในไทยนิยมตั้ง เพื่อให้เกียรติและแสดงความเคารพต่อ เจ้าที่
การตั้ง ตี่จู้เอี้ย ศาลเจ้าที่จีน จะต้องพิจารณา 4 องค์ประกอบดังนี้
ชัยภูมิ - ตี่ลี่
- ตี่แปลว่าดิน จู้แปลว่าเจ้า
ดังนั้น ตี่จู้ ต้องติดดินจึงจะมีพลัง
หากยกฐาน ฐานนั้นต้องเป็นดินหรือหินและทึบตัน
ตี่จู่เอี๊ยะ ตั้งได้เฉพาะชั้นล่าง คอนโดที่สูงกว่าชั้นหนึ่งไม่ต้องตั้ง ชั้นดาดฟ้าไม่มีความหมาย
- ศาลพระภูมิ คือ เจ้าที่ ( ภูมิ - ดิน ) มีความหมายและการปฏิบัติเช่นเดียวกัน
พระภูมิ ต้องอยู่ติดดิน
ศาลพระพรหม ( มาจากสวรรค์ ) สามารถตั้งบนดาดฟ้าได้
- ด้านหลัง ตี่จู้เอี้ย ควรเป็นที่นิ่ง
ไม่ควรเป็นบันได ห้องน้ำ ประตู ห้องครัวโดยเฉพาะตรงกับ เตาไฟ
- ด้านหน้า ตี่จูเอี๊ย ควรเป็นที่โล่ง ( เหม่งตึ๊ง )
ไว้รองรับ ( โชคลาภบารมี )
- หากตั้งอยู่ลึกเกินกว่า 8 เมตรเมื่อนับจากประตู
ควรยกสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ ตี่จู้ สามารถมองมาเห็นด้านหน้าได้สะดวกขึ้น
- การยกฐานขึ้น ต้องเผื่อพื้นที่ด้านหน้าสำหรับเป็น เหม่งตึ๊งด้วย
( ลานที่ว่างด้านหน้า เพื่อรับโชคลาภ ขนาดประมาณวางจานของไหว้ได้ )
- หากพื้นของ ศาลเจ้าที่ ต่ำกว่าถนน ให้ยกฐานขึ้นจนสูงเท่ากับถนน และเผื่อพื้นที่ด้านหน้า
- หากวาง ตี่จู้เอี้ย ลงในตู้โชว์ จะต้องมีพื้นที่ด้านข้างขอบซ้ายขวาและด้านบน ตี่จู้
หากขนาด ตี่จู้เอี้ย ใหญ่ก็เว้นที่มากหน่อย
- ด้านใต้ ตี่จู้เอี๊ย ไม่จำเป็นต้องใส่สิ่งใด
เพราะหากใส่เหรียญ อันมีพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่สุดในแผ่นดินสยาม ไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดกล้ามาอาศัยอยู่
หรือการใส่เมล็ดพันธุ์พืช หากมีการเจริญเติบโตก็จะกลายเป็นทิ่มแทง
ดังนั้นดีที่สุด คือฐานที่เรียบ ทำจากดินหรือหิน ( หินอ่อน/แกรนิต ) ทึบตันคือมั่นคง แต่ในบางกรณีที่นิยมใส่ แผ่นเงินแผ่นทอง เพชรนิลจินดา ซึ่งเป็นธาตุดิน ถือว่าใช้ได้
- ขนาดที่ใช้ ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่
ใหญ่เกินไปก็อึดอัด - เล็กเกินไปก็ไม่เหมาะสม ขาดบารมี
- กรณีที่ ตี่จู้ พิงบันได ( เคลื่อนไหว )
สามารถแก้ไขได้โดยซื้อแผ่นหินแปะติดบันได
( ประมาณ 1 - 3 แผ่น ) ลดหลั่นลงมา โดยแผ่นเล็กสุดอยู่หน้าสุดควรมีขนาดใหญ่กว่า ตี่จูเอี๊ย อย่างน้อยข้างละ 1 นิ้ว
( ด้านบน ซ้ายและขวา ) เปรียบเสมือนภูเขาคือมั่นคง
แล้วจึงเชิญ ตี่จู้ วางไว้ด้านหน้าแผ่นหินนั้น
- ตี่จู่เอี้ย สามารถวางไว้ด้านข้างซ้ายหรือขวาของบ้านก็ได้ โดยวิเคราะห์ร่วมกับ ดาว 9 ยุค
- ตี่จู้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสีแดงเสมอไป (ที่ใช้สีแดงเพราะตามความนิยมสืบต่อกันมา )
- ศาลเจ้าที่จีน ตี่จู้หินอ่อน
สมัยเริ่มแรกจะเป็นกระดาษแปะกำแพง ( คล้ายยันต์ เขียนคำว่า ตี่จู้ )
ต่อมาพัฒนาเป็นป้ายไม้ ป้ายหิน แลัวก็เป็นเรือนไม้
เริ่มนิยมทาสีแดงในช่วงถัดมา
ยุคปัจจุบัน ตี่จู้นิยมทำด้วยหินอ่อน สอดคล้องกับธาตุดิน ( คือ ตี่จู้ )
เพราะทนทาน สวยภูมิฐาน เหมาะกับบ้านสมัยใหม่
- บ้านเรือนทั่วไปตั้ง ตี่จู้เอี้ย อย่างเดียวก็เพียงพอ (เหมือนเป็นผู้ใหญ่บ้าน )
ปึงเถ่ากง เหมาะกับการตั้งบ้านเรือนขนาดใหญ่มากหรือโรงงาน ( ผู้ว่า )
ตั้งมากเกินไปบ้านจะดูเป็น โรงเจ ศาลเจ้า
ทิศทาง - ดาว 9 ยุค
- ตี่จู่เอี๊ย ควรตั้งในตำแหน่งลาภวิบัติ ลาภเสื่อม ( ทำให้สิ่งเลวร้ายนิ่งหรือหมดไป )
หรือตั้งตำแหน่ง บารมีประจำยุค บารมีหนุน บารมีรอ ( เสริมบารมี )
- ห้ามตั้ง ตี่จู้เอี้ย ในตำแหน่ง ลาภประจำยุค ลาภหนุน บารมีวิบัติ บารมีเสื่อม
- หากเป็นทิศทางเจริญรุ่งเรือง ด้านหน้า ตี่จู้ ต้องมองออกไปตรงตำแหน่งประตูที่มีลาภ
- ตี่จู้ไม่จำเป็นต้องตรงประตูบ้านเสมอไป
ตัวอย่าง บ้านนั่ง 345 องศา ยุค 8
หากตั้งตี่จู้อยู่กลางบ้าน และประตูอยู่กลางบ้าน
ประตูเป็นดาว 9 7 เป็นตำแหน่งบารมีหนุน และลาภเสื่อม
เปิดประตูนี้ กลับไม่ดี - ขาดผู้สนับสนุน และเกิดเรื่องเสียลาภ
ดังนั้น หากเปิดประตูขวามือด้านหน้าของตี่จู้แทน
จะเป็นดาว 7 9 คือ ประตูลาภหนุน - จะได้ลาภที่ดี
ศึกษา บทบาทดาว 9 ยุคได้จาก หนังสือ จัดบ้านตามหลักฮวงจุ้ย ยุค 8
- หากเป็นทิศทางล้มเหลว ( คือบารมีอยู่หน้า ลาภอยู่หลัง )
ด้านหลัง ตี่จู่เอี๊ย ต้องเคลื่อนไหว ด้านหน้าต้องถูกปิดบัง
- ตี่จู้เอี๊ย เป็นเพียงจุดยึดเหนี่ยวไม่ใช่ประธาน
- หากทิศทางที่ตั้งของ ตี่จู่เอี๊ย ถูกต้องกับ ธาตุสำคัญ
ให้ไหว้เป็นประจำจะช่วยส่งเสริม ดวงชะตา ( ดวงจีน )
ฤดูกาล - ฤกษ์ยาม
- ควรเป็นฤกษ์ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น วันจิ้งซิ้ง
( เด่นดัง ) ได้ยิ่งดี
- เป็นฤกษ์สี่ทิศก็ใช้ได้ เพราะเป็นฤกษ์ปลอดภัย
วุ่นวาย ( เอี๊ยง )
ตี่จู้ คือนิ่ง ( อิม ) เมื่ออิมและเอี๊ยงมาบรรจบกัน ก็ก่อเกิดพลังสมดุล
- วันแรกที่มีการทำพิธี ต้องจุดธูปจริง 5 ดอก
เพราะควันเป็นสื่อแสดงออกถึงความเคารพของเจ้าบ้านต่อ เจ้าที่
- ของไหว้ ที่ควรเป็นคือ ผลไม้ 5 อย่าง
ไม่ควรเป็นเนื้อสัตว์เพราะเท่ากับเบียดเบียนชีวิตอื่น
ขี้เถ้าที่ใช้ปักธูป ใช้ถ่านหรือดินที่เผาจนเป็นขี้เถ้า ( จะบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งใด ๆ เจือปน )
- การขยับย้าย การทำความสะอาดครั้งแรก ตี่จู่เอี๊ยะ ต้องดูฤกษ์เสมอ
ดีที่สุด ให้ใช้มือกด กระถางธูป แล้วเช็ดไปรอบ ๆ
ห้ามยกหรือเคลื่อนย้ายเรือนหรือกระถางธูปโดยเด็ดขาด
ภาคผนวก : ตี่จู้ต้องเป็นเรือนไม้สีแดงเท่านั้น จริงหรือ ?
ขออธิบายดังนี้ แรกเริ่มการตั้งตี่จู้ ของคนจีนในไทยสมัยก่อน
เริ่มต้นจาก
- ใช้หมึกสี เขียนที่ผนัง เป็นตัวอักษร ( ตี่จู้ )
- เขียนบนกระดาษอ่อน หรือแข็ง
- ใช้แผ่นไม้ หรือแผ่นหิน ปะติด หรือพิงผนัง
- ต่อมา สร้างเป็นตัวเรือน ทำให้ดูภูมิฐาน สร้างความสง่างามแก่เจ้าบ้าน
ทำด้วยไม้ เพราะราคาประหยัด
นิยมสีแดง เพราะให้ความรู้สึกเป็นมงคลตามความเชื่อ
ช่วงแรก มีเพียงกระถางธูป แจกัน ถ้วยน้ำชา
เริ่มมีของประดับต่าง ๆ เช่น โคมไฟ หลอดไฟ
- เรือนไม้ สีอื่น ๆ เช่น เรือนไม้สัก แดงเข้ม น้ำตาลเข้ม สีโอ๊ค เริ่มนิยมใช้
เริ่มมีการประดับกระถางธูป ด้วยกิมฮวย อั่งติ้ว ( ผ้าสีแดงติดหน้ากระถางธูป )
- เริ่มวาง ของประดับที่ไม่จำเป็น เช่น ก้อนเงินทอง ลูกแก้ว ฯลฯ จนแน่นศาล
ในหลักความเป็นจริง คงไม่ใคร เอาของมีค่ามาวางโชว์ให้ผู้อื่นดูตลอดเวลา
เสี่ยงของหาย
แลดู ขาดความเรียบร้อย ไม่เป็นระเบียบ
- เรือนหินอ่อน เริ่มมีการผลิตเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีหลายสีให้เลือก
หินอ่อนสีขาวอมชมพู สีน้ำผึ้งหยก ฯลฯ
ช่วงหลัง นิยมใช้กระถางธูปไฟฟ้า แทนการจุดธูป ( ควันธูปไม่ดีต่อปอด )
*** แต่วันตั้งไหว้ และวันพระสำคัญ ต้องจุดธูปจริง ***
จะเห็นได้ว่า เรือนตี่จู้มีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ
*** ดังนั้น ไม่ได้เป็นข้อจำกัดว่า ต้องเป็นเรือนไม้สีแดงเท่านั้น ***
ลองสังเกตุดูที่ ฮ่องกง สิงคโปร์ เรือนหินอ่อนก็มีมาก ( ส่งจากเมืองไทยไป )
จากรูปตัวอย่าง เป็นตู้วางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้านบนตั้งเจ้าพ่อกวนอู ด้านล่างลักษณะเป็นกล่อง
และตั้งป้ายหินอ่อน แกะสลักด้วยอักษรสีทอง เป็นตี่จู้
*** เป็นร้านอาหารชื่อดังในฮ่องกง ***
อีกตัวอย่าง ที่เป็นพัฒนาการ คือ เรือนศาลพระภูมิ ศาลตายาย สมัยก่อนก็เป็นเรือนไม้
ต่อมา ทำด้วยปูน แต่ในปัจจุบัน ทำด้วยหินแกรนิต เป็นแบบโมเดิร์น
เป็นที่นิยม โดยเฉพาะบ้านสมัยใหม่ บ้านเศรษฐี ตามโครงการต่าง ๆ
------
ปัจจุบัน เรือนตี่จู้ โมเดิร์น เริ่มเป็นที่สนใจ ของลูกหลานจีน รุ่นใหม่
ภาพตัวอย่างด้านล่าง เป็นแบบที่ออกโดยศิษย์ที่เป็นสถาปนิก
ภายใต้คำแนะนำของ อจ.เกรียงไกร
ตี่จู้หินอ่อน Modern Style & ระบบไฟ LED
AvivaSpirit.com